เครื่องพิมพ์ดีดภาษไทย เกิดขึ้นเมื่อ Edwin Hunter Mcfarland ชาวอเมริกัน ซึ่งรับราชการในตำแน่งเลขานุการส่วนพระองค์ ในพระบาทสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงธรรมการ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้มีแนวความคิดที่จะสร้างเครื่องพิมพ์ดีดภาษไทยขึ้น จึงได้เดินทางกลับไปประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อสำรวจหาโรงงานที่สามารถผลิตเครื่องพิมพ์ดีดภาษไทยได้ ในที่สุดได้โรงงาน Smith Premier ซึ่งอยูที่กรุงนิวยอร์คเป็นผู้ผลิตให้ โดย Mcfarland เป็นผู้คิดแบบและควบคุมการผลิต จนกระทั่งสำเร็จเป็นเครื่องพิมพ์ดีดภาษไทย ชนิดแป้นอักษร 7 แถว ทำงานแบบตรึงแคร่อักษร ( fixed carriage typed typewriter ) ซึ่งสามารถใช้งานได้ดี แต่ในขณะออกแบบแป้นอักษรไทยเพื่อบรรจุลงในแผงแป้นอักษรนั้นปรากฎว่า Mcfarland ได้ลืมบรรจุตัวอักษร ขอ ขวด และ คอ คน ลงไปด้วย แต่โชคดียังมีอักษรอื่นที่ฟ้องเสียงสามารถใช้แทนกันได้ จึงถือได้ว่า Edwin Hunter Mcfarland คือผู้คิดประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ดีดภาษไทยได้เป็นคนแรก หลังจากนั้นในปี พ.ศ.2435 Mcfarland ได้นำเครื่องพิมพ์ดีดดังกล่าวเข้ามาถวายพระเจ้ายู่หัวรัชกาลที่ 5 ซึ่งพระองค์ได้ทรงทดลองพิมพ์และเป็นที่พอพระราชหฤทัยอย่างยิ่ง เราจึงถือว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เป็นนักพิมพ์ดีดไทยคนแรก ซึ่งต่อมาได้ทรงสั่งซื้อเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทย Smith Premier จำนวน 17 เครื่องเข้ามาใช้ในราชการ แต่เนื่องจากเครื่องพิมพ์ดีดชนิดนี้มีแป้นพิมพ์อักษรถึง 7 แถว จึงไม่สามารถใช้วิธีการพิมพ์แบบสัมผัสอย่างในปัจจุบันได้ ต้องพิมพ์โดยใช้นิ้วเคาะทีละแป้น


ต่อมา Mcfarland ได้เดินทางกลับไปสหรัฐเมริกาและอยู่ที่นั่นจนกระทั่งถึงแก่กรรมในปี พ.ศ.2438 นายแพทย์ Grorge B.Mcfarland หรือ อำมาตย์เอก พระอาจวิทยาคม ซึ่งเป็นน้องชายก็ได้รับสืบทอดกิจการเครื่องพิมพ์ดีดของพี่ชายมาไว้ และได้นำไปตั้งแสดงและสาธิตในร้านทำฟันของตนเอง จนเป็นที่รู้จักและสนใจของประชาชนอย่างมาก ดังนั้น Mcfarland จึงได้สั่งซื่อเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทย Smith Premier เข้ามาจำหน่าย โดยตั้งร้านที่หัวมุมเจริญกรุงตัดกับถนนวังบูรพา ชื่อร้าน Smith Premier Store ในปี พ.ศ.2441 ต่อมาภายหลังบริษัท Smith Premier ประเทศอเมริกา ได้ขายสิทธิบัตรการผลิตให้แก่บริษัท Remington และบริษัท Remington ก็ได้ปรับปรุงเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทย ให้เป็นแบบที่สามารถเลื่อนและยกแคร่อักษรได้ (Sliding , Shifting , Carriage) และลดจำนวนแป้นอักษรลงมาเหลือ 4 แถว แต่ก็ยังมีข้อบกพร่องอยู่บ้าง ดังนั้นพระอาจวิทยาคม จึงได้ปรึกษากับพนักงานในบริษัทของท่าน คือ นายสวัสดิ์ มากประยูร กับ นายสุวรรณประเสริฐ เกษมณี โดย นายสวัสดิ์ มากประยูร ทำหน้าที่ออกแบบประดิษฐ์ก้านอักษร และนายสุวรรณประเสริฐ เกษมณี ทำหน้าที่จัดวางตำแหน่งแป้นอักษร เพื่อให้สามารถพิมพ์ได้ถนัดและรวดเร็ว จนสำเร็จในปี พ.ศ.2474 โดยใช้เวลาพัฒนา 7 ปี และเรียกแป้นอักษรแบบใหม่นี้ว่าแป้นเกษมณี ตามนามสกุลของผู้ออกแบบ โดยแป้นพิมพ์เกษมณีมีรูปแบบการจัดวางตัวอักษรในแป้นเหย้าเป็น "ฟ ห ก ด่า ส ว" ถึงแม้ในปี พ.ศ.2508 นายสฤษดิ์ ปัตตะโชติ นายช่างกรมชลประทานจะได้ทำการปรับปรุง และออกแบบการจัดวางตำแหน่งแป้นอักษรไทยใหม่ ซึ่งเรียกว่าแป้นปัตตะโชติ และได้ทำการวิจัยจนพบว่า แป้นปัตตะโชติสามารถพิมพ์ได้เร็วกว่าแป้นเกษมณีถึง 26.8 % ก็ตาม แต่นักพิมพ์ดีดทั้งหลายได้ชินกับการพิมพ์บนแป้นเกษมณีแล้ว อีกทั้งต้นทุนในการปรับเปลี่ยนแป้นของเครื่องพิมพ์ดีดที่ใช้อยู่ก็สูง จึงทำให้แป้นแบบเกษมณียังคงได้รับความนิยมมาจนทุกวันนี้ และได้กลายเป็นแป้นพิมพ์ภาษาไทยมาตรฐานสำหรับคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน นอกจากนี้พระอาจวิทยาคม ก็ยังเป็นบุคคลแรกที่เปิดโดรงเรียนสอนพิมพ์ดีดภาษาไทยแบบสัมผัสขึ้นในปี พ.ศ.2470 อีกด้วย
นาย เจษฎา ทองด้วง

0 Comments:

Post a Comment



Blogger Template by Blogcrowds