สวัสดีคะ วันนี้เรามารู้จักกับประวิติและวิวัฒนาการของหนังสือพิมพ์ไทยกันดีกว่า

     หนังสือพิมพ์ วิวัฒนาการของหนังสือพิมพ์ไทยเติบโตไปตามภาวะความเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมประกอบกับหนังสือพิมพ์เป็นสื่อที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานปรัชญาของการต่อสู้ทางอุดมการณ์หนังสือพิมพ์เป็นเสมือนกลไกหรือเครื่องมือสำคัญ ที่มีส่วนผลักดันเปลี่ยนแปลงสภาพการเมืองการปกครองและสังคมของไทยเสอมมาการศึกษาวิวัฒนาการของหนังสือพิมพ์ไทยในแต่ละยุค จึงจะเป็นต้องพิจารฯบริบทต่างๆที่แวดล้อมหนังสือพิมพ์ในแต่ละยุคควบคู่ไปด้วย บริบทเหล่านี้ได้แก่ บริบททางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม-วัฒนธรรม และอุดมการณ์ความคิดทางวิชาชีพหนังสือพิมพ์ หนังสือพิมพ์จัดเป็นสื่อที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยเมื่อเปรียบเทียบกับสื่อมวลชนประเภทอื่นหนังสือพิมพ์ในไทยเกิดขึ้นภายหลังจากที่มีการนำตัวพิมพ์และแท่นพิมพ์เข้ามาในเมืองไทย ตั้งแต่สมัยพระนารายณ์มหาราชและพัฒนาเรื่อยมาเป็นสื่อหนังสือพิมพ์ การสำเสนอประวัติและพัฒนาการหนังสือพิมพ์ไทย จะแบ่งออกเป็น 7 ยุด โดยในช่วงแรกเป็นยุคที่อยู่ในระบบการปกครองแบบสมบูรฯญาสิทธิราชย์ (ยุค 1-4) และในช่วงหนังเป็นยุคการปกครองในระบอบรัฐสภาภายใต้รัฐธรรมนูญตั้งแต่ พ.ศ. 475 เป็นต้นมา

     ยุคหนังสือพิมพ์ฝรั่งเริ่มตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 3 ถึงกลางสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นสมัยที่คณะมิชชันนารีฝรั่งริเริ่มอ่านหนังสือพิมพ์โดยมีหมอบรัดเลย์เป็นผู้บุกเบิก ก่อนหน้าที่หมอบรัดเลย์จะออกหนังสือพิมพ์ได้รับพิมพ์ประกาศของทางราชการ จนกระทั้งหมอบรัดเลย์เห็นว่ามีความพร้อม จึงออกหนังสือพิมพ์ฉบับแรกในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2387 ชื่อหนังสือพิมพ์ บางกอกรีคอร์เดอร์ ซึ่งคนไทยพากันเรียนกว่า จดหมายเหตุอย่างสั้น เพราะลงตีพิมพ์ข่าวและประกาศต่างๆจัดได้ว่าเป็นหนังสือพิมพ์ข่าวรายปักษ์เล่มแรกของประเทศไทย อย่างไรก็ตามบางกอกรีคอร์เดอร์มีอายุอยู่เพียง 2 ปี ก็ต้องปิดกิจการเพราะขาดทุน เนื่องจากคนไทยยังไม่รู้จักหนังสือพิมพ์ และขุนนางไทยสมัยนั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2407 หมอบรัดเลย์ได้ออกหนังสือพิมพ์ใหม่เป็นครั้งที่สองเป็นฉบับโดยใช้ชื่อว่าบางกอกรีคอร์เดอร์เช่นเดิมถึงแม้ว่าบางกอกรีคอร์เดอร์เป็นเครื่องมือที่เติมความรู้ให้แก่ชนชั้นสูงเสียมากกว่ามวลชนแต้เร่าต้องของการต่อต้านความอยุติธรรม การรายงานเหตุการณ์ต่างๆให้ทราบถึงพระเนตรเนื่องจากหมอบรัดเลย์ได้กล้าเสนอในสิ่งที่คนไทยสมัยนั้นไม่เสนอจึงหมิ่นเหม่ต่อคดีอาญารับกาลที่ 4 ได้ออกประกาศไม่ให้เชื่อหนังสือพิมพ์ เพราะเห็นว่าบางครั้งหนังสือพิมพ์ของฝรั่งก็เกินจริงเป็นเครื่องมือใส่ร้ายป้ายสีคนอื่นในที่สุดหมอบรัดเลย์ก็ต้องเลิกออกหนังสือพิมพ์จากการพิมพ์เนื่องจากแพ้คดีความที่ถูกทูตชาวฝรั่งเศสฟ้องร้องทำให้กิจการขาดทุนจึงเลิกกิจการทั้งหมดนอกจากหนังสือพิมพ์บางกอกรีคอร์เดอร์แล้วยังมีหนังสือพิมพ์ที่ออกมาในช่วงนี้แต่ไม่มีความสำคัญมากนักหนังสือพิมพ์เหล่านี้ได้แก่ บางกอกคาร์เลนดาร์ ของหมอจันทเล บางกอกเดลี ของหมอสมิธ

     ยุคหนังสือพิมพ์ราชสำนักการทำหนังสือพิมพ์ในราชสำนักเริ่มขึ้นในช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 4 ถึงปลายรัชกาลที่ 5 กลุ่มหนึ่งที่มีการศึกษาจากต่างประเทศมีความเห็นว่าถ้าให้ฝรั่งออกหนังสือพิมพ์แต่ฝ่ายเดียวย่อมเป็นภัย จึงได้ออกหนังสือ ราชกิจจานุเบกษา ในปี พ.ศ. 2401 มีกำหนดออกเป็นครั้งคราวมีประสงค์เพื่อแจ้งประกาศของราชการ กฎหมายข้อบังคับ แจ้งความเตือนสติ และชี้แจงข่าวคลาดที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ของหมอบรัดเลย์ นับได้วาเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแรกที่ออกโดยคนไทยราชกิจจานุเบกษาที่ออกในปลายสมัยรัชการที่ 4 ออกได้เพียงปีเดียวก็เลิกไป และมาออกอีกครั้งหนึ่งในรัชการที่ 5 ในปี พ.ศ. 2517 ในปีพ.ศ. 2418 ได้มีการออกหนังสือ ค็อต ข่าวราชการ เป็นหนังสือพิมพ์รายวันมีจำนวนหน้า 4 หน้า มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข่าวราชการ และข่าวความเคลื่อนไหวในราชสำนักรายงานข่าวกำหนดการต่างๆที่ควรจะบอกล่วงหน้า บุคคลในข่าวมักเป็นพระบรมวงศานุวศ์และข้าราชการเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีหนังสือวชิรญาณและ วชิรญาณวิเศษ ในปี พ.ศ. 2427 เป็นหนังสือพิมพ์รายเดือน เน้นเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม และเรื่องอ่านเล่นเนื่องจากการพิมพ์หนังสืออยู่ในอิทธิพลของราชสำนักและจัดทำโดยเจ้านาย เนื้อหาส่วนใหญ่ของหนังสือพิมพ์ในยุคนี้จึงเป็นเรื่องทางราชการ และอ่านกันเฉพาะในหมู่คนจำนวนน้อย ไม่หวังผลทางการค้าเพราะอยู่ได้ด้วยการนสนับสนุนจาราชสำนัก

     ยุคหัวเลี้ยวหัวต่อจากราชสำนักสู่สามัญชนช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มมีสามัญชนออกหนังสือพิมพ์ เช่น ก.ศ.ร.กุหลาบ และเทียนวรรณ ก.ศ.ร.กุหลาบ เป็นสามัญชนธรรมดาที่ไม่มียศ ไม่ศักดิ์ได้ออกหนังสือพมิพ์ชื่อ สยามประเภทสุนทโรวาทพิเศษ ในปี พ.ศ .2440 แม้ว่าหนังสือพิมพ์ของสามัยชนต้องแข่งขันกับหนังสือพิมพ์ของเจ้านาย และเสี่ยงต่อการขาดทุนเพราะโฆษฯยังไม่แพร่หลาย แต่กลับได้รับความนิยมจากคนอื่นมาก ระยะแรกออกเป็นรายเดือนต่อมาออกเป็นรายปักษ์ (รายสองสัปดาห์) เพราะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น มีการนำเสนอข่าว ความรู้ ประวัติศาสตร์ มีการเยาะเย้ยถากถางสังคม และมีการตอบข้อคำถามที่มีคนส่งมายังบรรณาธิการ จุดเด่นของหนังสือสยามประเภทอยู่ที่เรื่องพงศาวดารและโบราณคดีซึ่ง ก.ศ.ร.กุหลาบ สืบเสาะค้นคว้ามาจากหนังสือเก่าด้วยการแอบคัดลอกมาจากหนังสือหลวงที่มีอยู่ในหอหลวงเอามาลงให้ประชาชนอ่าน ทำให้มีผู้นิยมเชื่อถือมาก แต่ต่อมาก็ได้มีการแต่งเติม สอดแทรกความคิดของตนเข้าไป ทำให้รัชการที่ 5 ไม่พอพระทัย สั่งให้จับตัวไปอยู่โรงพยาบาลบ้า 7 วัน นับว่าเป็นครั้งแรกที่คนไทยถูกสอบสวนเรื่องการเขียนข่าวหนังสือพิมพ์เทียนวรรณ ได้รับการศึกษาจากการบวชเรียน การมีความรู้ภาษาอังกฤษทำให้เทียนวรรณได้รับข่าวคราวและแนวคิดเกี่ยวกับการปกครองจากตะวันตก เป็นผู้มีความคิดเห็นแบบสมัยใหม่ เช่น เรียกร้องให้มีการเลิกทาส การมีภรรยาได้คนเดียว เทียนวรรณนิยมเขียนไปลงตามสิ่งพิมพ์ต่างๆจนในที่สุดถูกข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ถูกเฆี่ยนและจำคุกอยู่ถึง 17 ปี เมื่อออกจากคุกในปี พ.ศ. 2443 เทียวรรณออกหนังสือพิมพ์ของตัวเอง ชื่อ ตุลยวิภาคพจนกิจ เป็นรายปักษ์ เพราะเห็นวาหนังสือพิมพ์ที่มีอยู่สมัยนั้นไม่ได้ทำหน้าที่ติเตียนรัฐบาล เขาได้เรียกร้องเสรีภาพในการพูด การเขียน และคอยตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล หนังสือพิมพ์ของเขาจึงดูล้ำหน้าไปกว่าหนังสือพิมพ์อื่นในสมัยนั้นตุลยวิภาคพจนกิจ ออกอยู่ถึงปี พ.ศ. 2449 ก็หยุดออก แต่พอถัดมาในปี พ.ศ. 2450 เทียนวรรณได้ออกหนังสืออีกเล่มหนึ่งชื่อ ศิริพจนภาคเป็นหนังสือรายเดือน แต่ออกได้ปีเดียวก็เลิก ในบั้นปลายชีวิตของเทียนวรรณประสบกับความยกลำบากและตาบอดหนังสือพิมพ์ซึ่งออกในปลายสมัยรัชกาลที่ 5 นอกเหนือจากนี้ได้แก่ สาราราษฎร์(2436-2466) จีนโนสยามวารศัพท์ (2450-2466) พิมพ์ไทย (2451) กรุงเทพเดลิเมล์(2441-2476) หนังสือพิมพ์เหล่านี้มีลักษณะต่างไปจากหนังสือราชการและตีพิมพ์ต่อเนื่องจนถึงสมัยรัชกาลที่ 7 เป็นหนังสือพิมพ์ที่จัดว่ามีบทบาทสำคัญในประวัติหนังสือพิมพ์ไทยในเวลาต่อมา

     ยุคใหม่ของวงการหนังสือพิมพ์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ยุคนี้เริ่มตั้งแต่ช่วงที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ยังเป็นเจ้าฟ้าวชิราวุธพระบรมโอรสาธิราช ต่อเนื่องมาจากขึ้นครองราชย์เป็นยุคที่หนังสือพิมพ์เข้าถึงมวลชนมากขึ้นมีผู้นิยมทำหนังสือพิมพ์เป็นอาชีพและข่าวสารการเมืองก็เริ่มเป็นที่สนใจของประชาชน มีการวิพากษ์วิจารณ์โต้แย้งกันในหน้าหนังสือพิมพ์มีการแข่งขันกันดึงดูดผู้อื่นโดยใช้พาดหัวข่าวตัวโตสมัยรัชการที่ 6 เป็นยุคที่สถานะทางเศรษฐกิจการเงินของประเทศดีขึ้น และได้มีการวางรากฐานการศึกษาแก่ประชาชน มีการบัญญัติพระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. 2464 บังคับให้เด็กทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 7 ปีบริบูรณ์ เรียนหนังสือในโรงเรียนจนอายุ 14 ปีบริบูรณ์ นอกจากนี้ประชาชนยังมีความตื่นตัวทางการเมืองเนื่องจากสภาวะของเหตุการณ์สงครนามโลกครั้งที่ 1 และการเมืองในประเทศจีนในปี พ.ศ. 2467 ปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดปรานงานหนังสือพิมพ์ และทรงมีพระราชอัธยาศัยโปรดการโต้แย้งแสดงความคิดเห็นอันเป็นอิทธิพลที่ได้รับมาจากการที่ไปศึกษาในประเทศอังกฤษปัจจัยต่างๆดังกล่าวได้ผลักดันให้มีหนังสือพิมพ์ออกมาอย่างแพร่หลาย ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน มีหนังสือที่ออกเพิ่มในรัชกาลที่ 6 นี้จำนวน 130 ชื่อด้วยกันทวีปัญญา เป็นหนังสือที่ออกเมื่อครั้งยังทรงดำรงเป็นพระบรมโอรสาธิราช ออกเป็นรายเดือนฉบับแรกออกเมื่อปี พ.ศ. 2447 และเลิกออกไปเมื่อปี พ.ศ. 2450 เพื่อส่งเสริมความรู้ อิงนิยายให้อ่านกันเล่น เปิดโอกาสให้คนส่งเรื่องมาลงตีพิมพ์ในสมัยของรัชกาลที่ 6 ได้ออกหนังสือข่าวของ “ดุสิตธานี” ทั้งรายวันและรายสัปดาห์ คือ ดุสิตสมัย รายวัน และดุสิตสมิธ ราย 3 เดือน ซึ่งได้รับความนิยมมาก มีทั้งเรื่องการเมือง เรื่องตลกขบขัน เบ็ดเตล็ด และกวีนิพนธ์ ลักษณะเด่นคือมีการ์ตูนล้อการเมือง หนังสือพิมพ์เป็นเวทีแสดงออกซึ่งความคิดเห็นและสนามสำหรับแสดงโวหาร พระราชนิพนธ์ที่ปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์ได้แก่ “โคลนติดล้อ” และ “ล้อติดโคลน” เป็นการเขียนถึงสังคม ความเป็นอยู่ และการเมืองของไทย อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าหนังสือพิมพ์สมัยรัชกาลที่ 6 จะมีเสรีภาพ แต่ก็เป็นเสรีภาพภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และการควบคุมของกฎหมายการพิมพ์ฉบับแรกคือ พระราชบัญญัติว่าด้วยเอกสารและหนังสือพิมพ์ พ.ศ. 2465 พระราชบัญญัตินี้ได้กำหนดให้ผู้มีเครื่องพิมพ์ต้องขออนุญาตจากสมุหเทศาภิบาลแห่งมณฑลก่อนทำการตีพิมพ์ยุคการเปลี่ยนแปลงของหนังสือพิมพ์ในระบอบรัฐธรรมนูญ (พ.ศ. 2475-2516) เริ่มตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 สืบเนื่องถึงช่วงหลังปี พ.ศ.2475 เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่ระบอบรัฐสภาภายใต้รัฐธรรมนูญ เป็นยุคที่มีการรับรองสิทธิเสรีภามในการพูด การเขียน และการโฆษณา (มาตรา 14 แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475) แก่ประชาชนเป็นครั้งแรกหลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครอง สถานการณ์ทางการเมืองที่มีการต่อสู้ช่วงชิงอำนาจระหว่างกลุ่มเจ้านายและคณะราษฎร ทำให้หนังสือพิมพ์เริ่มแบ่งเป็นฝักฝ่าย คือ ฝ่ายอิสระ ฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายนิยมกษัตริย์ รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติสมุดเอกสารและหนังสือพิมพ์ แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2475 เพื่อควบคุมหนังสือพิมพ์อย่างเคร่งครับ มีการตรวจข่าวก่อนนำลงตีพิมพ์ แต่หนังสือพิมพ์หลายฉบับก็ไม่ได้เกรงกลัว จึงมีหนังสือพิมพ์ถูกสั่งปิดในสมัยนี้หลายฉบับ แต่บางฉบับหลีกเลี่ยงด้วยการเพิ่มเนื้อหาบันเทิงมากขึ้นเช่น เสนอนวนิยาย ข่าวชาวบ้านประเภทอาชญากรรม และลดเนื้อหาด้านการเมือง สาเหตุที่คณะราษฎรต้องการควบคุมหนังสือพิมพ์เพราะความรู้สึกไม่มั่นใจในเสถียรภาพของตนเอง หวาดระแวงฝ่ายกษัตริย์ว่าจะผนึกกำลัง และหวาดกลัวต่อการแทรกแซงของต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม คณะราษฎรได้ชี้แจงว่าไม่มีความมุ่งหมายจะจำกัดเสรีภาพของหนังสือพิมพ์แต่เพื่อผลประโยชน์ของประเทศในปี พ.ศ. 2476 ได้มีพระราชบัญญัติการพิมพ์ พุทธศักราช 2476 ออกมาอีกฉบับหนึ่งกฎหมายฉบับนี้ประกาศยกเลิกพระราชบัญญัติสมุดเอกสารและหนังสือพิมพ์ 2470 และ 2475 บัญญัติใหม่นี้กำหนดบทบัญญัติควบคุมหนังสื่อพิมพ์โดยกำหนดวุฒิการศึกษาของบรรณาธิการต้องสอบไล่ชั้นประโยคมัธยมบริบูรณ์หรือเทียบเท่า หรือเป็นผู้ซึ่งมีวิทยาฐานะอันมีคณะกรรมการซึ่งแต่งตั้งโดยรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยไม่ต่ำกว่า 3 นาย กฎหมายฉบับนี้ต้องการให้หนังสือพิมพ์มีมาตรฐาน แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นการควบคุมจำนวนหนังสือพิมพ์ไปด้วยในตัว การขึ้นสู่อำนาจทางการเมืองของจอมพล ป. พิบูลสงคราม (พ.ศ. 2481-2487) เป็นช่วงเริ่มเข้ามามีบทบาททางการเมือง มีการเนรเทศผู้ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาล มีการตราพระราชทานการพิมพ์ พุทธศักราช 2484 เพื่อควบคุมหนังสือพิมพ์ในภาวะฉุกเฉินหรือภาวะสงครามโดยเจ้าพนักงานการพิมพ์ คือ อธิบดีกรมตำรวจทำหน้าที่ตรวจข่าวโฆษณา สั่งถอนใบอนุญาตหนังสือพิมพ์ได้ ถ้าเห็นว่าขัดต่อความสงบเรียบร้อยแบะศีลธรรมอันดีของประชาชน และได้เงินทุนขึ้นต่ำของการดำเนินงานหนังสือพิมพ์ คือไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นบาท ทำให้หนังสือพิมพ์ยุบรวมกัน เมื่อจำนวนหนังสือพิมพ์ลดลงรัฐบาลก็สามารถควบคุมหนังสือพิมพ์ได้นอกจากนั้นในช่วงภาวะสงคราม หนังสือพิมพ์ต้องปัดส่วนกระดาษและมีการประกาศยกเลิกใช้บางตัว ทำให้หนังสือพิมพ์ถูกควบคุมทางอ้อมและกลายเป็นเพียงผู้บันทึกเหตุการณ์ในปี พ.ศ. 2501 ได้เกิดการรัฐประหารนำโดนจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และตลอดช่วงระยะภายได้ระบอบการปกครองเผด็จการทหาร ( พ.ศ. 2501-2516) ของจอมพล สฤษดิ์ จอมพล ถนอม กิตติขจร และจอมพล ประภาส จารุเสถียร มีการประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองซึ่งไม่มีบทบัญญัติใดๆรับรองสิทธิเสรีภาพในการพูด การเขียน และการแสดงความคิดเห็นรัฐบาลใช้ประกาศคณะปฏิบัติฉบับที่ 17 ในการควบคุมหนังสือพิมพ์อย่างเบ็ดเสร็จ โดยอ้างเพื่อความมั่นคงของประเทศ

     ยุคสิทธิเสรีภาพหนังสือพิมพ์เบ่งบาน และการปราบปรามครั้งใหญ่ การเดินขบวนครั้งใหญ่เพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญของขบวนการนิสิตนักศึกษาและประชาชนหรือที่เรียกว่า “การปฏิวัติ 14 ตุลา” โดยประชาชน ได้นำไปสู่การโค่นล้มรัฐบาลทหาร เป็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำคัญ เปิดฟ้าใหม่ให้แก่สิทธิเสรีภาพของหนังสือพิมพ์อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน มีหนังสือพิมพ์ เกิดใหม่เป็นจำนวนมาก และหนังสือพิมพ์มีจุดยืนทางการเมืองที่แตกต่างหลากหลายทั้งในฝ่ายเสรีนิยมและสังคมนิยม รวมแล้วมีการขอออกหนังสือพิมพ์ถึง 753 ฉบับ แต่มีเพียงร้อยละ 10 ที่ดำเนินการจริงในช่วงปี พ.ศ. 2517 มีคนหนุ่มสาวและกลุ่มปัญญาชนหัวก้าวหน้าเข้าสู้วงการหนังสือพิมพ์ แบละได้ออหนังสือพิมพ์แนวการเมือง เช่น ประชาชาติ ประชาธิปไตย และ The Voice of the Nation ส่วนนิสิตนักศึกษาได้ออกหนังสือพิมพ์ อธิปัตย์ เพื่อใช้เป็นเวทีในการแสดงบทบาททางการเมืองในอีกด้านหนึ่ง หนังสือพิมพ์ แนวอาชญากรรม เช่น ไทยรัฐ เดลินิวส์ ดาวสยาม ก็ใช้โอกาสที่เสรีภาพเปิดกว้างในการขุดคุ้ยเรื่องส่วนตัว ขายข่าวในเรื่องอาชญากรรม ความรุนแรงและเรื่องทางเพศอย่างโจ่งครึ่มในปี พ.ศ. 2518 ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นรายกรัฐมนตรีได้ประกาศพระราชบัญญัติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ พุทธศักราช 2518 ที่อนุญาตให้มีการยึดแท่นพิมพ์ได้ มาควบคุมหนังสือพิมพ์แม้ว่านักหนังสือพิมพ์จะเรียกร้องให้ยกเลิกพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 และพร้อมจะจัดตั้งสภาการหนังสือพิมพ์เพื่อควบคุมกันเองในทางวิชาชีพ อย่างไรก็ ดีบรรยากาศที่เสรีภาพเบ่งบานเต็มที่ในช่วงระยะ 3 ปี พ.ศ.2516-2519 ต้องสะดุดหยุดลง เมื่อฝ่ายอนุรักษนิยมร่วมมือกับทหารใช้กำลังปราบปรามนักศึกษาและประชาชนที่ประท้วงการกลับมาของจอมพบ ถนอม กิตติขจร หลังจากนั้น กลุ่มที่เรียกตัวเองว่าคณะปฏิรูปได้ก่อการรัฐประหารในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 และบริหารประเทศด้วยการหิดกั้นสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนมีการยกเลิกรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 และประกาศใช้ธรรมนูญการปกครอง พ.ศ. 2520 ซึ่งไม่มีบทบัญญัติใดๆที่รับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและของสื่อมวลชน มีการออกประกาศคณะปฏิรูปฉบับที่ 42 สั่งปิดหนังสือพิมพ์และมีการตรวจเซนเซอร์อย่างเข้มงวด หนังสือพิมพ์ที่ถูกกว้าวหาว่าเอียงซ้ายถูกยึดและมีรายชื่อหนังสือต้องห้าม 100 เล่ม ผู้ใดมีไว้ครอบครองจะถูกยึดและเผา มีคำสั่งเรียกผู้พิมพ์ผู้โฆษณาของหนังสือพิมพ์ทุกฉบับเข้าพบที่กอบบัญชาการทหารสูงสุด เพื่อให้ของอนุมัติตี พิมพ์หนังสือพิมพ์เป็นรายๆไป หนังสือพิมพ์ที่ได้รับอนุมัติ คือหนังสือพิมพ์ที่มีทัศนะเอียงขวาและกลางๆมีจำนวนทั้งสิ้น 12 ฉบับ ซึ่งไม่มีการวิจารณ์รัฐบาลคณะปฏิรูปอย่างสิ้นเชิงนิสิตนักศึกษาและปัญญาชนฝ่ายซ้ายหนีภัยคุกคามจากรัฐบาล เข้าป่าจับอาวุธต่อสู่ร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) และมีการเผยแพร่ความคิดทางการเมืองผ่านวิทยุเสียงประชาชนแห่งประเทศไทย และสื่อสิ่งพิมพ์ของพรรคคอมมิวนิสต์และพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทยการสู้รบด้วยกำลังอาวุธระหว่างทหารรัฐบาลและกอบทัพปลดแอกของพรรคคอมมิวนิสต์สิ้นสุดลงเมื่อรัฐบาลประกาศนโยบาย 66/2523 และ65/2524 เพื่อลดสภาพความขัดแย้งรุนแรง และการต่อสู้ทางความคิดและความเชื่อทางการเมืองที่ช้ำลังอาวุธและได้ประกาศนิรโทษกรรมแก่ผู้ที่กลับจากป่าค้นสู่สังคมเมือง

ที่มา
http://mhajoy.bloggang.com
รุ่งทิพย์ พรหมนิมิตกุล










วีระ วานิชเจริญธรรม

          สวัสดีค่าาาา ท่านผู้อ่านทั้งหลาย!!!วันนี้ก้อมีความรู้เกี่ยวกับหนังสือพิมพ์เล่มแรกของไทยมาฝากกันค่ะ คืออย่างนี้ค่า หนังสือพิมพ์ที่เราอ่านกันทุกวันนี้ เค้ามีคนบุกเบิกมาหลายร้อยปีแล้วนะคะ ซึ่งหนังสือพิมพ์ของไทยฉบับแรกเริ่มเนี่ย มันเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ.2387 ค่ะ คือ "บางกอกรีคอร์เดอร์" (Bangkok Recorder) หรือ "หนังสือจดหมายเหตุ” โดนที่ฉบับปฐมฤกษ์เริ่มออกวางแผง

          หนังสือพิมพ์ฉบับนี้จัดพิมพ์โดย หมอบรัดเลย์ (Dr. Dan Beach Bradley, M.D.) มิชชันนารีอเมริกัน โดยใช้ตัวพิมพ์ที่เรียกว่า “บรัดเลย์เหลี่ยม” จัดพิมพ์ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ในระยะแรกเริ่ม ยังออกแค่ฉบับรายเดือน ต่อมาก็ไปเปลี่ยนเป็นรายปักษ์หรือรายครึ่งเดือน เรียกว่าถี่ขึ้นหน่ะ แต่พอออกได้เพียงสองปีก็ต้องเลิกกิจการ แต่หนังสือพิมพ์บางกอกรีคอร์ดเดอร์ได้นำเอาวิธีการรายงานข่าวและการเขียนบทความแบบวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งเป็นของใหม่ในสมัยนั้นเข้ามาอีกด้วย หลายๆคนอยากจะรู้สาเหตุสินะคะว่าทำไมเค้าถึงต้องล้มเลิกกิจการไป ซึ่งการที่หนังสือพิพ์บางกอกรีคอร์เดอร์หนังสือพิพพ์ฉบับแรกของไทย
ที่เป็นภาษาไทยต้องหยุดทำการพิมพ์กันนั้น เรื่องนี้ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์บางกอกรีคอร์เดอร์ ฉบับภาษาไทย เล่ม 2 เดือน เยนยุเอริ ค.ศ. 1867 (พ.ศ.2410) หน้าที่ 279 ปลายสมัยรัชกาลที่ 4 มีข้อความว่า" ข้าพเจ้า ผู้ เป็น เจ้าของ จะแจ้งความแก่ท่านทั้งหลาย ที่ได้ซื้อหนังสือพิมพ์ว่า คนที่ซื้อหนังสือพิมพ์ บางกอก รีกอเดอ เป็น ภาษาไทยน้อยนัก ไม่ถึง 340 คน มีผู้รับแต่เพียงนั้น ขาดทุนจะทำการต่อไปไม่ได้ เมื่อนี้ อีก 2 ยกจะครบแล้ว ข้าพเจ้าจะต้อง หยุด เสียกว่า จะมีคนสัก สาม ร้อยคน ขอ ซื้อเป็น ปี จึงจะทำได้ต่อไป "เป็นอย่างไรบ้างค่ะ สาเหตุนี่เล่นเอาสะท้อนการอ่านหนังสือของคนไทยกันเลยทีเดียว555 ในเมื่อคนอ่านไม่ซื้อ ผู้ผลิตจะอยู่ได้อย่างไรคะ เจ้านาย!!!!อ่อ ลืมไปค่ะ รูปภาพที่นำมาฝาก็เป็นรูปหนังสือพิมพ์จดหมายข่าวและโฉมหน้าของผู้บุกเบิกหนังสือพิมพ์ไทยเล่มแรกนั่นเองค่า

ปาลนันท์ มหาโชติกุล

          เมื่อวานเข้าอินเตอร์เน็ตมาบังเอิญไปอ่านเจอมาว่านิตยสารเกี่ยวกับภาพยนต์เล่มแรกๆของประเทศไทยอยู่ในสมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งทำให้เกิดการตื่นตัวมากในวงการภาพยนต์เป็นอย่างมาก
นิตยสารหลายแห่งปรับปรุงให้มีบทความเกี่ยวกับภาพยนต์บนหน้านิตยสารของตัวเอง

          และทำให้สื่อบันเทิงเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในสังคมยุคนั้นต่อมามีการผลิตนิตยสารมากขึ้นไม่ว่าจะเป็น


"ภาพยนตร์สยาม" ซึ่งเป็นนิตยสารรายเดือน ออกเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๕

"ข่าวภาพยนตร์สยาม" ออกรายเดือน ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๖๗-๒๔๗๐

"ข่าวภาพยนตร์" รายสัปดาห์ละ ๒ ครั้ง ออกในปี พ.ศ.๒๔๖๗ เช่นกัน

          ซึ่งนิตยสารทั้งหมดผลิตโดยสยามภาพยนต์บริษัท ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของ บริษัทรูปยนต์กรุงเทพ ซึ่งเป็นเจ้าของโรงวังเจ้าปรีดา และบริษัทพยนต์พัฒนากร ซึ่งมีโรงหนังพัฒนากรเป็นศูนย์กลาง รวมเป็นสยามภาพยนตร์บริษัท เจ้าของคือ นายเชียวซองอ๊วน สีบุญเรือง

เรื่องที่ดีๆแบบนี้เอาไว้จะหามาฝากอีกนะค่ะ
กรรณิการ์ พลการ

สื่อสิ่งพิมพ์อย่างแรก คือ ประเภทหนังสือ... ก็จะมีหนังสือสารคดี ตำรา แบบเรียน และหนังสือบันเทิงคดี จะเน้นความรู้ต่างๆ
ประเภทที่สอง คือ สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร... เช่น หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร จุลสาร ใบปลิว แผ่นพับ โบชัวร์ หรือ โปสเตอร์
ประเภทที่สาม คือ สิ่งพิมพ์เพื่อการบรรจุภัณฑ์...ใช้ห่อหุ้มผลิตภัณฑ์การค้าต่าง ๆ เช่น พวกกล่อง หรือลัง
ประเภทที่สี่ คือ สิ่งพิมพ์มีค่า...ก็อย่างเช่น พาสปอต เงิน โฉนด
ประเภทที่ห้า คือ สิ่งพิมพ์ลักษณะพิเศษ...เป็นสิ่งเราทำชึ้นมาเองอ่ะเช่น บัตรอวยพร ปฎิทิน นามบัตร
ประเภทที่หก คือ สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์...เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้งานในคอมพิวเตอร์ ก็จะมีDocument Formats, E-book for Palm/PDA เป็นต้น
พรพิมล ศิลป์มหาบัณฑิต

          เราย้อนไปดูจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์กันก่อนละกันว่าศิลปะของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์เนี่ย ได้มีการปรากฎอยู่บนผนังถ้ำลาสควักซ์ (Lascaux) ในฝรั่งเศส และถ้ำอัลตามิรา (Altamira) ในสเปน เผยผลงานด้านจิตรกรรมที่มีคุณค่าด้านความงามของมนุษยชาติ แถมยังปรากฎผลงานแกะสลักหิน แกะสลักผนังถ้ำเป็นรูปสัตว์อีกด้วย โดยที่ลายเส้นของการแกะสลักภาพลายเส้นบนผนังถ้ำนั้น ถือว่าเป็นพยานหลักฐานในการแกะแบบพิมพ์ของมนุษย์เป็นครั้งแรกก็ว่าได้ นอกจากนี้ยังปรากฎการเริ่มต้นพิมพ์ภาพผ่านฉากพิมพ์ (Stensil) โดยการใช้มือวางทาบลงบนผนังถ้ำ แล้วพ่นหรือเป่าสีลงบนฝ่ามือ ส่วนที่เป็นมือจะบังสีไว้ ให้ปรากฎเป็นภาพแบน ๆ แสดงขอบนอกอย่างชัดเจน จึงเรียกได้ว่าเป็นการพิมพ์อย่างง่าย ๆ

          แล้วรู้รึเปล่าจ๊ะ ว่าในสมัยอารยธรรมประวัติศาสตร์ยุคแรก ๆ เนี่ย จะมีกลุ่มประเทศเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia) ที่เริ่มรู้จักใช้ของแข็งกดลงบนดินทำให้เกิดเป็นลวดลายตัวอักษร เรียกว่า อักษรลิ่ม (Cuneiform) ซึ่งมีอายุประมาณ 5,000 ปีก่อนคริสต์กาลเลยน้าา..า.. หลังจากนั้นในภูมิภาคแถบเอเชียตอนกลางและชาวจีน ก็เริ่มแกะสลักโดยเอากระดูกสัตว์และงาช้างมาทำ เพื่อใช้ประทับลงบนดินเหนียว กล่าวได้ว่า เป็นต้นตอของแม่พิมพ์ Letter Press สังเกตได้จากพงศาวดารจีนโบราณองค์จักรพรรดิจะมีตราหยกเป็นตราประจำแผ่นดิน

          ในเวลาต่อมาชาวจีนที่ชื่อ ไซลั่น คิดวิธีทำกระดาษขึ้นมาได้แล้วก็กลายเป็นวัสดุสำคัญเท่ากับการเขียนและการพิมพ์ด้วย เท่านั้นยังไม่พอ ประเทศจีนนี่เค้าเก่งจริงๆ ได้มีการใช้เทคนิคพิมพ์ถู ซึ่งเค้าจะแกะสลักวิชาความรู้ไว้บนแผ่นหิน เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจได้นำกระดาษมาวางทาบบนแผ่นหินแล้วใช้ถ่านหรือสีทาลงบนกระกาษ สีก็ติดบนกระดาษส่วนที่หินนูนขึ้นมา เทคนิคนี้ดูจะเหมือนกับการถู ลอกภาพรามเกียรติ์ที่แกะสลักบนแผ่นหินอ่อนที่วัดโพธิ์ในทุกวันนี้
          พอเข้าค.ศ.400 ชาวจีนยังไม่หยุดคิ้นค้นจ่ะพี่น้อง ก็คิดค้นหมึกหมึกแท่งขึ้นมาอีก โดยใช้เขม่าไฟเป็นเนื้อสี (Pigment) ผสมกาวเคี่ยวจากกระดูกสัตว์ หนังสัตว์และเขาสัตว์เป็นตัวยึด (Binder) แล้วทำให้แข็งเป็นแท่ง เค้าเรียกว่า "บั๊ก" ต่อมาราวปี ค.ศ.450 การพิมพ์ด้วยหมึกบนกระดาษจึงเกิดขึ้นโดยใช้ตราจิ้มหมึกแล้วตีลงบนกระดาษเช่นเดียวกับการประทับตรายางในปัจจุบัน

          สำหรับชิ้นงานพิมพ์ซึ่งเก่าแก่ที่สุดและยังคงหลงเหลืออยู่ได้แก่ การพิมพ์โดยจักรพรรดินีโชโตกุ (Shotodu) แห่งประเทศญี่ปุ่น โดยพระองค์รับสั่งให้จัดพิมพ์คำสวดปัดรังควานขับไล่วิญญาณหรือผีร้ายให้พ้นจากประเทศญี่ปุ่น และแจกจ่ายไปตามวัดทั่วอาณาจักรญี่ปุ่นเป็นจำนวนหนึ่งล้านแผ่นซึ่งต้องใช้เวลาตีพิมพ์เป็นเวลาถึง 6 ปีเลยทีเดียว

          เอาหล่ะ เราจะมาเฉลยกันแล้วว่าชาวใดเป็นผู้พิมพ์หนังสือพิมพ์เล่มแรก...คงต้องยกตำแหน่งให้กับ "ชาวจีน" ที่นิยมใช้เทคนิคการพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์แกะไม้ แถมยังพัฒนาขึ้นตามลำดับ ซึ่งในปี ค.ศ.868 ได้มีการพิมพ์เป็นหนังสือพิมพ์เล่มแรกมีลักษณะเป็นม้วน มีความยาว 17.5 ฟุต กว้าง 10.5 นิ้ว โดยวาง เซียะ (Wang Chieh) ซึ่งยังคงตกทอดมาจนถึงปัจจุบันหนังสือเล่มนี้มีชื่อว่า วัชรสูตร (Diamond Sutra)
          เป็นงัยกันบ้างจ๊ะ หวังว่าคนที่เข้ามาอ่านคงได้ความรู้รอบตัวเพิ่มขึ้นอีกหน่อย เดี๋ยวคราวหน้าจะเอาเรื่องราว ประวัติดีๆ ที่เกี่ยวกับวารสารมาฝากอีก อย่าลืมติดตามกันด้วยนะจ๊ะ ตอนนี้ก็ดึกแล้ว วันนี้คงต้องลาไปก่อน คุณผู้อ่านอย่าลืมแปรงฟันก่อนนอนนะคะ ราตรีสวัสดิ์ค่ะ
ปาลนันท์ มหาโชติกุล

ตามบันทึกทางประวัติศาสตร์พบว่า วิวัฒนาการของการเผลแพร่ข่าวสารบ้านเมืองผ่านตัวอักษรนั้นมีให้เห็นกันมานานมากหละ ก่อนที่ โจฮานน์ กูเตนเบิร์ก จะสามารถผลิตแท่นพิมพ์เครื่องแรกของโลกได้สำเร็จในปี 1447 เสียอีก
---------------------------------------------------------------------------------------------
"The Roman Acta Diurna" ได้รับการจดบันทึกให้เป็นต้นแบบของหนังสือพิมพ์ในยุคต้นๆ โดยถือกำเนิดขึ้นในช่วงราว 59 ปีก่อนคริสตกาล โดยจูเรียส ซีซาร์ ผู้น้ำอาณาจักรโรมัน
---------------------------------------------------------------------------------------------
ซีซาร์ต้องการให้ "The Roman Acta Diurna" ใช้เป็นทีแจ้งข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องอื้อฉาวของรัฐบาล โครงการรณรงค์ทางด้านการทหาร กระบวนการพิจารณาคดี และการสำเร็จโทษต่างๆ ให้แก่พลเมืองได้รับทราบ ซึ่งลักษณะของการเผยแพร่ข่าวสารแบบ "The Roman Acta Diurna" ก็คือ การเขียนข้อความต่างๆ ลงบนกระดาษขนาดใหญ่ แล้วนำไปตั้งไว้ตามสถานที่ที่มีผู้คนพลุกพล่าน
---------------------------------------------------------------------------------------------
สำหรับการเผยแพร่ข่าวสารผ่านตัวอักษรลงบนกระดาษปรากฏให้เห็นครั้งแรกที่ประเทศจีนในราวศตวรรษที่ 8 โดยทางการจีนจะใช้วิธีเขียนข่าวสารลงบนกระดาษแล้วนำไปติดไว้ตามสถานที่สาธารณะต่างๆ อย่างที่เราเคยเห็นในหนีงจีนกำลังภายในทั้งหลายนั้นเอง
---------------------------------------------------------------------------------------------
ทว่า หลังจากที่กูเตนเบิร์กประดิษฐ์แท่นพิมพ์ได้สำเร็จ ชาวยุโรปก็เริ่มใช้วิธีการพิมพ์ข่าวสารแทนการเขียนด้วยลายมือ แต่ในยุคแรกๆ ของการถือกำเนิดสิ่งพิมพ์นั้น การเผยแพร่ข่าวสารยังคงอยู่ในรูปแบบของ "จดหมายข่าว" มากกกว่า ซึ่งโดยส่วยใหญ่แล้วจะเป็นข่าวสารด้านการค้าขาย
---------------------------------------------------------------------------------------------
กระทั่งในปี 1605 จึงได้มีการตีพิมพ์หนังสือพิมพ์ฉบับแรกของโลกเกิดขึ้น โดยเป็นหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ที่มีชื่อว่า "Relation" ถือกำเนิอขึ้นในประเทศเยอรมนี จากนั้นประเทศเพื่อนบ้านอย่าง ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม อังกฤษ ก็เริ่มเอาอย่างบ้าง
---------------------------------------------------------------------------------------------
โห....นี่กว่าจะมาเป็นหนังสือพิมพ์ที่เราอ่านๆ กันในทุกวันนี้นี่เดินทางข้ามมาหลายยุคหลายสมัยเหลือเกิน ยังไงซะนี่ก็เกล็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ แล้วคอยติดตามกันต่อไปนะ
---------------------------------------------------------------------------------------------
วีระ วานิชเจริญธรรม

หนังสือเล่มแรกของไทย คือหนังสือที่มีชื่อว่า จินดามณี ไม่รู้ว่าผู้แต่งเป็นใคร พระโหราธิบดีแต่งถวายพระนารายณ์เมื่อครั้งสุโขทัย เนื่องจากพระองค์ได้ทรงเป็นเจ้าเมืองลพบุรี และพระนารายณ์ทรงคิดว่า บาทหลวงชาวฝรั่งเศสได้เข้ามาสอนศาสนาคริสต์ในพระนครศรีอยุธยา พระองค์ทรงเห็นว่าถ้าฝ่ายไทยไม่สนใจศึกษาเล่าเรียนให้รุ่งเรือง ก็จะเสียเปรียบชาวฝรั่งเศส คิดว่าพระโหราเป็นผู้เชี่ยวชาญจึงสั่งให้แต่งตำราถวาย ส่วนหนังสือพงศาวดารนั้นแต่งเป็นหนังสือสำหรับ ให้ความรู้แก่ท่านฑูต และได้มีการแพร่หลายในสมัยนั้นเนื้อหาในหนังสือจะเป็นประเภท ร่าย ฉันท์ และร้อยกรองประเภทต่างๆแต่ชื่อหนังสือก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่า จินดามณีหรือจินดามุณี ในสมัยนั้นไม่มีการพิมพ์เหมือนสมัยนี้ ผู้ที่จะต้องการศึกษาจะต้องคัดลอกไว้ โดยใช้สมุดที่ทำมาจากพืช เรียกว่าสมุดไทย ได้คัดลอกตกทอดกันมาหลายๆทอดจนตัวอักษรเริ่มลางเลือน อีกทั้งหนังสือชำรุดเสียหายเจ้าของก็เอาหนังสือมาประติดประต่อกันถูกๆผิดๆ ก็ทำให้เนื้อหาไม่ครบถ้วน และใช้มาจนถึงเมื่อพระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อย อาจารยางกูล)ได้แต่งหนังสือมูลบทบรรพกิจเป็นแบบเรียนหลวงสมัยรัชกาลที่5
มัลลิกา ปัญญาธนกิจ

วันนี้เราจะ มาดูความหมายของวารสารและนิตยาสารกัน วารสารและนิตยาสาร เป็นสื่อมวลชนที่ให้ทั้งข่าวสาร ความรู้ความ คิดความบันเทิงในช่วงเวลาหนึ่งได้และยังช่วยกระตุ้นเปลี่ยนแปลงการพัฒนาต่างๆได้อีก ซึ่งอยู่ในรูปของการเสนอทางวิชาการ ข่าว ภาพ ความคิดเห็น บทวิจารณ์ อย่างหลากหลาย จึงมีคุณค่าต่อการศึกษาสูง ผู้ใช้วารสารควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ความหมายลักษณะ วิธีการนำเสนอเนื้อหา แนวทางการใช้ เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ทางการศึกษาจากวารสารและนิตยาสาร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ วารสารและนิตยาสาร จัดอยู่ในสิ่งพิมพ์ประเภทออกตามรายคาบหรือออกต่อเนื่องตามลำดับ เนื่องจากสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทนี้มีชื่อเรียกหลายชื่อ ทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บางคำมีความหมายกว้างๆใช้แทนกันได้ แต่บางคำมีความหมายแคบ แสดงถึงลักษณะเฉพาะบางอย่าง จนไม่อาจใช้แทนคำอื่นได้ เพื่อให้เข้าใจตรงกัน ในที่นี่จึงขอใช้คำว่า "วารสาร" เป็นคำแรก แทนสิ่งพิมพ์ประเภทนี้ทั้งหมด

Blogger Template by Blogcrowds