1. เริ่มจากการนำเปลือกข่อย หรืออาจผสมกับเปลือกสาเปลือกหอยนำมาผสมกันก้อได้ ต้มจนเปื่อย ใส่ใบมะละกอเพื่อให้เปื่อยเร็วขึ้น
2. นำปอที่เปื่อยแล้วมาล้างน้ำปั้นเป็นก้อนแห้งๆหั้ยหมดน้ำ ใส่ครกตำให้ละเอียด
3. ทำกรอบไม้สี่เหลี่ยมประมาณ 1 เมตร ขึงให้ตึงด้วยผ้าดิบ แช่ลงในน้ำ เทเยื่อปอที่ตำลงไปในกะบะไม้เกลี่ยให้เสมอกัน นำไปผึ่งแดดให้แห้งแล้วลอกออก จะใช้กระดาษสาตามขนาดของกรอบไม้
4. นำกระดาษสามาตัดตามขนาดสั้นยาว พับกลับไปมาที่เรียกว่า "พับกลับหน้ากลับหลัง" จะได้เป็นแผ่นพับกระดาษสา
5. น้ำยาที่ใช้เขียนคือใช้ยางติ้ว ยางพะองมาผสมกับน้ำ ผลชาตรีจะให้ผลสีแดง ถ้าต้องการสีดำก็ผสมเขม่าไฟจากหม้อดินมาบดให้ละเอียด
6. วัสดุที่ใช้ทำที่เขียนมักใช้ต้นโกธา รากดอกเกตุ รากโพธิ์ มาทุบหั้ยเป็นฝอยเหลาให้แหลมคล้ายปลายดินสอ จุ่มน้ำเขียนตามต้องการ
7. แผ่นปกสมุดข่อยนิยมทา สีน้ำเกลี้ยงหลายๆครั้งจนดำสนิททั้งปกหน้า-ปกหลังที่เรียกกันว่า " หลบหน้า-หลบหลัง" (หลบ-คืนมา)
พรพิมล ศิลป์มหาบัณฑิต