กำเนิดการพิมพ์

          เราย้อนไปดูจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์กันก่อนละกันว่าศิลปะของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์เนี่ย ได้มีการปรากฎอยู่บนผนังถ้ำลาสควักซ์ (Lascaux) ในฝรั่งเศส และถ้ำอัลตามิรา (Altamira) ในสเปน เผยผลงานด้านจิตรกรรมที่มีคุณค่าด้านความงามของมนุษยชาติ แถมยังปรากฎผลงานแกะสลักหิน แกะสลักผนังถ้ำเป็นรูปสัตว์อีกด้วย โดยที่ลายเส้นของการแกะสลักภาพลายเส้นบนผนังถ้ำนั้น ถือว่าเป็นพยานหลักฐานในการแกะแบบพิมพ์ของมนุษย์เป็นครั้งแรกก็ว่าได้ นอกจากนี้ยังปรากฎการเริ่มต้นพิมพ์ภาพผ่านฉากพิมพ์ (Stensil) โดยการใช้มือวางทาบลงบนผนังถ้ำ แล้วพ่นหรือเป่าสีลงบนฝ่ามือ ส่วนที่เป็นมือจะบังสีไว้ ให้ปรากฎเป็นภาพแบน ๆ แสดงขอบนอกอย่างชัดเจน จึงเรียกได้ว่าเป็นการพิมพ์อย่างง่าย ๆ

          แล้วรู้รึเปล่าจ๊ะ ว่าในสมัยอารยธรรมประวัติศาสตร์ยุคแรก ๆ เนี่ย จะมีกลุ่มประเทศเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia) ที่เริ่มรู้จักใช้ของแข็งกดลงบนดินทำให้เกิดเป็นลวดลายตัวอักษร เรียกว่า อักษรลิ่ม (Cuneiform) ซึ่งมีอายุประมาณ 5,000 ปีก่อนคริสต์กาลเลยน้าา..า.. หลังจากนั้นในภูมิภาคแถบเอเชียตอนกลางและชาวจีน ก็เริ่มแกะสลักโดยเอากระดูกสัตว์และงาช้างมาทำ เพื่อใช้ประทับลงบนดินเหนียว กล่าวได้ว่า เป็นต้นตอของแม่พิมพ์ Letter Press สังเกตได้จากพงศาวดารจีนโบราณองค์จักรพรรดิจะมีตราหยกเป็นตราประจำแผ่นดิน

          ในเวลาต่อมาชาวจีนที่ชื่อ ไซลั่น คิดวิธีทำกระดาษขึ้นมาได้แล้วก็กลายเป็นวัสดุสำคัญเท่ากับการเขียนและการพิมพ์ด้วย เท่านั้นยังไม่พอ ประเทศจีนนี่เค้าเก่งจริงๆ ได้มีการใช้เทคนิคพิมพ์ถู ซึ่งเค้าจะแกะสลักวิชาความรู้ไว้บนแผ่นหิน เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจได้นำกระดาษมาวางทาบบนแผ่นหินแล้วใช้ถ่านหรือสีทาลงบนกระกาษ สีก็ติดบนกระดาษส่วนที่หินนูนขึ้นมา เทคนิคนี้ดูจะเหมือนกับการถู ลอกภาพรามเกียรติ์ที่แกะสลักบนแผ่นหินอ่อนที่วัดโพธิ์ในทุกวันนี้
          พอเข้าค.ศ.400 ชาวจีนยังไม่หยุดคิ้นค้นจ่ะพี่น้อง ก็คิดค้นหมึกหมึกแท่งขึ้นมาอีก โดยใช้เขม่าไฟเป็นเนื้อสี (Pigment) ผสมกาวเคี่ยวจากกระดูกสัตว์ หนังสัตว์และเขาสัตว์เป็นตัวยึด (Binder) แล้วทำให้แข็งเป็นแท่ง เค้าเรียกว่า "บั๊ก" ต่อมาราวปี ค.ศ.450 การพิมพ์ด้วยหมึกบนกระดาษจึงเกิดขึ้นโดยใช้ตราจิ้มหมึกแล้วตีลงบนกระดาษเช่นเดียวกับการประทับตรายางในปัจจุบัน

          สำหรับชิ้นงานพิมพ์ซึ่งเก่าแก่ที่สุดและยังคงหลงเหลืออยู่ได้แก่ การพิมพ์โดยจักรพรรดินีโชโตกุ (Shotodu) แห่งประเทศญี่ปุ่น โดยพระองค์รับสั่งให้จัดพิมพ์คำสวดปัดรังควานขับไล่วิญญาณหรือผีร้ายให้พ้นจากประเทศญี่ปุ่น และแจกจ่ายไปตามวัดทั่วอาณาจักรญี่ปุ่นเป็นจำนวนหนึ่งล้านแผ่นซึ่งต้องใช้เวลาตีพิมพ์เป็นเวลาถึง 6 ปีเลยทีเดียว

          เอาหล่ะ เราจะมาเฉลยกันแล้วว่าชาวใดเป็นผู้พิมพ์หนังสือพิมพ์เล่มแรก...คงต้องยกตำแหน่งให้กับ "ชาวจีน" ที่นิยมใช้เทคนิคการพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์แกะไม้ แถมยังพัฒนาขึ้นตามลำดับ ซึ่งในปี ค.ศ.868 ได้มีการพิมพ์เป็นหนังสือพิมพ์เล่มแรกมีลักษณะเป็นม้วน มีความยาว 17.5 ฟุต กว้าง 10.5 นิ้ว โดยวาง เซียะ (Wang Chieh) ซึ่งยังคงตกทอดมาจนถึงปัจจุบันหนังสือเล่มนี้มีชื่อว่า วัชรสูตร (Diamond Sutra)
          เป็นงัยกันบ้างจ๊ะ หวังว่าคนที่เข้ามาอ่านคงได้ความรู้รอบตัวเพิ่มขึ้นอีกหน่อย เดี๋ยวคราวหน้าจะเอาเรื่องราว ประวัติดีๆ ที่เกี่ยวกับวารสารมาฝากอีก อย่าลืมติดตามกันด้วยนะจ๊ะ ตอนนี้ก็ดึกแล้ว วันนี้คงต้องลาไปก่อน คุณผู้อ่านอย่าลืมแปรงฟันก่อนนอนนะคะ ราตรีสวัสดิ์ค่ะ
ปาลนันท์ มหาโชติกุล

0 Comments:

Post a Comment



Blogger Template by Blogcrowds