ประวัติหนังสือพิมพ์

สวัสดีคะ วันนี้เรามารู้จักกับประวิติและวิวัฒนาการของหนังสือพิมพ์ไทยกันดีกว่า

     หนังสือพิมพ์ วิวัฒนาการของหนังสือพิมพ์ไทยเติบโตไปตามภาวะความเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมประกอบกับหนังสือพิมพ์เป็นสื่อที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานปรัชญาของการต่อสู้ทางอุดมการณ์หนังสือพิมพ์เป็นเสมือนกลไกหรือเครื่องมือสำคัญ ที่มีส่วนผลักดันเปลี่ยนแปลงสภาพการเมืองการปกครองและสังคมของไทยเสอมมาการศึกษาวิวัฒนาการของหนังสือพิมพ์ไทยในแต่ละยุค จึงจะเป็นต้องพิจารฯบริบทต่างๆที่แวดล้อมหนังสือพิมพ์ในแต่ละยุคควบคู่ไปด้วย บริบทเหล่านี้ได้แก่ บริบททางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม-วัฒนธรรม และอุดมการณ์ความคิดทางวิชาชีพหนังสือพิมพ์ หนังสือพิมพ์จัดเป็นสื่อที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยเมื่อเปรียบเทียบกับสื่อมวลชนประเภทอื่นหนังสือพิมพ์ในไทยเกิดขึ้นภายหลังจากที่มีการนำตัวพิมพ์และแท่นพิมพ์เข้ามาในเมืองไทย ตั้งแต่สมัยพระนารายณ์มหาราชและพัฒนาเรื่อยมาเป็นสื่อหนังสือพิมพ์ การสำเสนอประวัติและพัฒนาการหนังสือพิมพ์ไทย จะแบ่งออกเป็น 7 ยุด โดยในช่วงแรกเป็นยุคที่อยู่ในระบบการปกครองแบบสมบูรฯญาสิทธิราชย์ (ยุค 1-4) และในช่วงหนังเป็นยุคการปกครองในระบอบรัฐสภาภายใต้รัฐธรรมนูญตั้งแต่ พ.ศ. 475 เป็นต้นมา

     ยุคหนังสือพิมพ์ฝรั่งเริ่มตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 3 ถึงกลางสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นสมัยที่คณะมิชชันนารีฝรั่งริเริ่มอ่านหนังสือพิมพ์โดยมีหมอบรัดเลย์เป็นผู้บุกเบิก ก่อนหน้าที่หมอบรัดเลย์จะออกหนังสือพิมพ์ได้รับพิมพ์ประกาศของทางราชการ จนกระทั้งหมอบรัดเลย์เห็นว่ามีความพร้อม จึงออกหนังสือพิมพ์ฉบับแรกในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2387 ชื่อหนังสือพิมพ์ บางกอกรีคอร์เดอร์ ซึ่งคนไทยพากันเรียนกว่า จดหมายเหตุอย่างสั้น เพราะลงตีพิมพ์ข่าวและประกาศต่างๆจัดได้ว่าเป็นหนังสือพิมพ์ข่าวรายปักษ์เล่มแรกของประเทศไทย อย่างไรก็ตามบางกอกรีคอร์เดอร์มีอายุอยู่เพียง 2 ปี ก็ต้องปิดกิจการเพราะขาดทุน เนื่องจากคนไทยยังไม่รู้จักหนังสือพิมพ์ และขุนนางไทยสมัยนั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2407 หมอบรัดเลย์ได้ออกหนังสือพิมพ์ใหม่เป็นครั้งที่สองเป็นฉบับโดยใช้ชื่อว่าบางกอกรีคอร์เดอร์เช่นเดิมถึงแม้ว่าบางกอกรีคอร์เดอร์เป็นเครื่องมือที่เติมความรู้ให้แก่ชนชั้นสูงเสียมากกว่ามวลชนแต้เร่าต้องของการต่อต้านความอยุติธรรม การรายงานเหตุการณ์ต่างๆให้ทราบถึงพระเนตรเนื่องจากหมอบรัดเลย์ได้กล้าเสนอในสิ่งที่คนไทยสมัยนั้นไม่เสนอจึงหมิ่นเหม่ต่อคดีอาญารับกาลที่ 4 ได้ออกประกาศไม่ให้เชื่อหนังสือพิมพ์ เพราะเห็นว่าบางครั้งหนังสือพิมพ์ของฝรั่งก็เกินจริงเป็นเครื่องมือใส่ร้ายป้ายสีคนอื่นในที่สุดหมอบรัดเลย์ก็ต้องเลิกออกหนังสือพิมพ์จากการพิมพ์เนื่องจากแพ้คดีความที่ถูกทูตชาวฝรั่งเศสฟ้องร้องทำให้กิจการขาดทุนจึงเลิกกิจการทั้งหมดนอกจากหนังสือพิมพ์บางกอกรีคอร์เดอร์แล้วยังมีหนังสือพิมพ์ที่ออกมาในช่วงนี้แต่ไม่มีความสำคัญมากนักหนังสือพิมพ์เหล่านี้ได้แก่ บางกอกคาร์เลนดาร์ ของหมอจันทเล บางกอกเดลี ของหมอสมิธ

     ยุคหนังสือพิมพ์ราชสำนักการทำหนังสือพิมพ์ในราชสำนักเริ่มขึ้นในช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 4 ถึงปลายรัชกาลที่ 5 กลุ่มหนึ่งที่มีการศึกษาจากต่างประเทศมีความเห็นว่าถ้าให้ฝรั่งออกหนังสือพิมพ์แต่ฝ่ายเดียวย่อมเป็นภัย จึงได้ออกหนังสือ ราชกิจจานุเบกษา ในปี พ.ศ. 2401 มีกำหนดออกเป็นครั้งคราวมีประสงค์เพื่อแจ้งประกาศของราชการ กฎหมายข้อบังคับ แจ้งความเตือนสติ และชี้แจงข่าวคลาดที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ของหมอบรัดเลย์ นับได้วาเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแรกที่ออกโดยคนไทยราชกิจจานุเบกษาที่ออกในปลายสมัยรัชการที่ 4 ออกได้เพียงปีเดียวก็เลิกไป และมาออกอีกครั้งหนึ่งในรัชการที่ 5 ในปี พ.ศ. 2517 ในปีพ.ศ. 2418 ได้มีการออกหนังสือ ค็อต ข่าวราชการ เป็นหนังสือพิมพ์รายวันมีจำนวนหน้า 4 หน้า มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข่าวราชการ และข่าวความเคลื่อนไหวในราชสำนักรายงานข่าวกำหนดการต่างๆที่ควรจะบอกล่วงหน้า บุคคลในข่าวมักเป็นพระบรมวงศานุวศ์และข้าราชการเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีหนังสือวชิรญาณและ วชิรญาณวิเศษ ในปี พ.ศ. 2427 เป็นหนังสือพิมพ์รายเดือน เน้นเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม และเรื่องอ่านเล่นเนื่องจากการพิมพ์หนังสืออยู่ในอิทธิพลของราชสำนักและจัดทำโดยเจ้านาย เนื้อหาส่วนใหญ่ของหนังสือพิมพ์ในยุคนี้จึงเป็นเรื่องทางราชการ และอ่านกันเฉพาะในหมู่คนจำนวนน้อย ไม่หวังผลทางการค้าเพราะอยู่ได้ด้วยการนสนับสนุนจาราชสำนัก

     ยุคหัวเลี้ยวหัวต่อจากราชสำนักสู่สามัญชนช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มมีสามัญชนออกหนังสือพิมพ์ เช่น ก.ศ.ร.กุหลาบ และเทียนวรรณ ก.ศ.ร.กุหลาบ เป็นสามัญชนธรรมดาที่ไม่มียศ ไม่ศักดิ์ได้ออกหนังสือพมิพ์ชื่อ สยามประเภทสุนทโรวาทพิเศษ ในปี พ.ศ .2440 แม้ว่าหนังสือพิมพ์ของสามัยชนต้องแข่งขันกับหนังสือพิมพ์ของเจ้านาย และเสี่ยงต่อการขาดทุนเพราะโฆษฯยังไม่แพร่หลาย แต่กลับได้รับความนิยมจากคนอื่นมาก ระยะแรกออกเป็นรายเดือนต่อมาออกเป็นรายปักษ์ (รายสองสัปดาห์) เพราะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น มีการนำเสนอข่าว ความรู้ ประวัติศาสตร์ มีการเยาะเย้ยถากถางสังคม และมีการตอบข้อคำถามที่มีคนส่งมายังบรรณาธิการ จุดเด่นของหนังสือสยามประเภทอยู่ที่เรื่องพงศาวดารและโบราณคดีซึ่ง ก.ศ.ร.กุหลาบ สืบเสาะค้นคว้ามาจากหนังสือเก่าด้วยการแอบคัดลอกมาจากหนังสือหลวงที่มีอยู่ในหอหลวงเอามาลงให้ประชาชนอ่าน ทำให้มีผู้นิยมเชื่อถือมาก แต่ต่อมาก็ได้มีการแต่งเติม สอดแทรกความคิดของตนเข้าไป ทำให้รัชการที่ 5 ไม่พอพระทัย สั่งให้จับตัวไปอยู่โรงพยาบาลบ้า 7 วัน นับว่าเป็นครั้งแรกที่คนไทยถูกสอบสวนเรื่องการเขียนข่าวหนังสือพิมพ์เทียนวรรณ ได้รับการศึกษาจากการบวชเรียน การมีความรู้ภาษาอังกฤษทำให้เทียนวรรณได้รับข่าวคราวและแนวคิดเกี่ยวกับการปกครองจากตะวันตก เป็นผู้มีความคิดเห็นแบบสมัยใหม่ เช่น เรียกร้องให้มีการเลิกทาส การมีภรรยาได้คนเดียว เทียนวรรณนิยมเขียนไปลงตามสิ่งพิมพ์ต่างๆจนในที่สุดถูกข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ถูกเฆี่ยนและจำคุกอยู่ถึง 17 ปี เมื่อออกจากคุกในปี พ.ศ. 2443 เทียวรรณออกหนังสือพิมพ์ของตัวเอง ชื่อ ตุลยวิภาคพจนกิจ เป็นรายปักษ์ เพราะเห็นวาหนังสือพิมพ์ที่มีอยู่สมัยนั้นไม่ได้ทำหน้าที่ติเตียนรัฐบาล เขาได้เรียกร้องเสรีภาพในการพูด การเขียน และคอยตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล หนังสือพิมพ์ของเขาจึงดูล้ำหน้าไปกว่าหนังสือพิมพ์อื่นในสมัยนั้นตุลยวิภาคพจนกิจ ออกอยู่ถึงปี พ.ศ. 2449 ก็หยุดออก แต่พอถัดมาในปี พ.ศ. 2450 เทียนวรรณได้ออกหนังสืออีกเล่มหนึ่งชื่อ ศิริพจนภาคเป็นหนังสือรายเดือน แต่ออกได้ปีเดียวก็เลิก ในบั้นปลายชีวิตของเทียนวรรณประสบกับความยกลำบากและตาบอดหนังสือพิมพ์ซึ่งออกในปลายสมัยรัชกาลที่ 5 นอกเหนือจากนี้ได้แก่ สาราราษฎร์(2436-2466) จีนโนสยามวารศัพท์ (2450-2466) พิมพ์ไทย (2451) กรุงเทพเดลิเมล์(2441-2476) หนังสือพิมพ์เหล่านี้มีลักษณะต่างไปจากหนังสือราชการและตีพิมพ์ต่อเนื่องจนถึงสมัยรัชกาลที่ 7 เป็นหนังสือพิมพ์ที่จัดว่ามีบทบาทสำคัญในประวัติหนังสือพิมพ์ไทยในเวลาต่อมา

     ยุคใหม่ของวงการหนังสือพิมพ์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ยุคนี้เริ่มตั้งแต่ช่วงที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ยังเป็นเจ้าฟ้าวชิราวุธพระบรมโอรสาธิราช ต่อเนื่องมาจากขึ้นครองราชย์เป็นยุคที่หนังสือพิมพ์เข้าถึงมวลชนมากขึ้นมีผู้นิยมทำหนังสือพิมพ์เป็นอาชีพและข่าวสารการเมืองก็เริ่มเป็นที่สนใจของประชาชน มีการวิพากษ์วิจารณ์โต้แย้งกันในหน้าหนังสือพิมพ์มีการแข่งขันกันดึงดูดผู้อื่นโดยใช้พาดหัวข่าวตัวโตสมัยรัชการที่ 6 เป็นยุคที่สถานะทางเศรษฐกิจการเงินของประเทศดีขึ้น และได้มีการวางรากฐานการศึกษาแก่ประชาชน มีการบัญญัติพระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. 2464 บังคับให้เด็กทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 7 ปีบริบูรณ์ เรียนหนังสือในโรงเรียนจนอายุ 14 ปีบริบูรณ์ นอกจากนี้ประชาชนยังมีความตื่นตัวทางการเมืองเนื่องจากสภาวะของเหตุการณ์สงครนามโลกครั้งที่ 1 และการเมืองในประเทศจีนในปี พ.ศ. 2467 ปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดปรานงานหนังสือพิมพ์ และทรงมีพระราชอัธยาศัยโปรดการโต้แย้งแสดงความคิดเห็นอันเป็นอิทธิพลที่ได้รับมาจากการที่ไปศึกษาในประเทศอังกฤษปัจจัยต่างๆดังกล่าวได้ผลักดันให้มีหนังสือพิมพ์ออกมาอย่างแพร่หลาย ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน มีหนังสือที่ออกเพิ่มในรัชกาลที่ 6 นี้จำนวน 130 ชื่อด้วยกันทวีปัญญา เป็นหนังสือที่ออกเมื่อครั้งยังทรงดำรงเป็นพระบรมโอรสาธิราช ออกเป็นรายเดือนฉบับแรกออกเมื่อปี พ.ศ. 2447 และเลิกออกไปเมื่อปี พ.ศ. 2450 เพื่อส่งเสริมความรู้ อิงนิยายให้อ่านกันเล่น เปิดโอกาสให้คนส่งเรื่องมาลงตีพิมพ์ในสมัยของรัชกาลที่ 6 ได้ออกหนังสือข่าวของ “ดุสิตธานี” ทั้งรายวันและรายสัปดาห์ คือ ดุสิตสมัย รายวัน และดุสิตสมิธ ราย 3 เดือน ซึ่งได้รับความนิยมมาก มีทั้งเรื่องการเมือง เรื่องตลกขบขัน เบ็ดเตล็ด และกวีนิพนธ์ ลักษณะเด่นคือมีการ์ตูนล้อการเมือง หนังสือพิมพ์เป็นเวทีแสดงออกซึ่งความคิดเห็นและสนามสำหรับแสดงโวหาร พระราชนิพนธ์ที่ปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์ได้แก่ “โคลนติดล้อ” และ “ล้อติดโคลน” เป็นการเขียนถึงสังคม ความเป็นอยู่ และการเมืองของไทย อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าหนังสือพิมพ์สมัยรัชกาลที่ 6 จะมีเสรีภาพ แต่ก็เป็นเสรีภาพภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และการควบคุมของกฎหมายการพิมพ์ฉบับแรกคือ พระราชบัญญัติว่าด้วยเอกสารและหนังสือพิมพ์ พ.ศ. 2465 พระราชบัญญัตินี้ได้กำหนดให้ผู้มีเครื่องพิมพ์ต้องขออนุญาตจากสมุหเทศาภิบาลแห่งมณฑลก่อนทำการตีพิมพ์ยุคการเปลี่ยนแปลงของหนังสือพิมพ์ในระบอบรัฐธรรมนูญ (พ.ศ. 2475-2516) เริ่มตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 สืบเนื่องถึงช่วงหลังปี พ.ศ.2475 เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่ระบอบรัฐสภาภายใต้รัฐธรรมนูญ เป็นยุคที่มีการรับรองสิทธิเสรีภามในการพูด การเขียน และการโฆษณา (มาตรา 14 แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475) แก่ประชาชนเป็นครั้งแรกหลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครอง สถานการณ์ทางการเมืองที่มีการต่อสู้ช่วงชิงอำนาจระหว่างกลุ่มเจ้านายและคณะราษฎร ทำให้หนังสือพิมพ์เริ่มแบ่งเป็นฝักฝ่าย คือ ฝ่ายอิสระ ฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายนิยมกษัตริย์ รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติสมุดเอกสารและหนังสือพิมพ์ แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2475 เพื่อควบคุมหนังสือพิมพ์อย่างเคร่งครับ มีการตรวจข่าวก่อนนำลงตีพิมพ์ แต่หนังสือพิมพ์หลายฉบับก็ไม่ได้เกรงกลัว จึงมีหนังสือพิมพ์ถูกสั่งปิดในสมัยนี้หลายฉบับ แต่บางฉบับหลีกเลี่ยงด้วยการเพิ่มเนื้อหาบันเทิงมากขึ้นเช่น เสนอนวนิยาย ข่าวชาวบ้านประเภทอาชญากรรม และลดเนื้อหาด้านการเมือง สาเหตุที่คณะราษฎรต้องการควบคุมหนังสือพิมพ์เพราะความรู้สึกไม่มั่นใจในเสถียรภาพของตนเอง หวาดระแวงฝ่ายกษัตริย์ว่าจะผนึกกำลัง และหวาดกลัวต่อการแทรกแซงของต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม คณะราษฎรได้ชี้แจงว่าไม่มีความมุ่งหมายจะจำกัดเสรีภาพของหนังสือพิมพ์แต่เพื่อผลประโยชน์ของประเทศในปี พ.ศ. 2476 ได้มีพระราชบัญญัติการพิมพ์ พุทธศักราช 2476 ออกมาอีกฉบับหนึ่งกฎหมายฉบับนี้ประกาศยกเลิกพระราชบัญญัติสมุดเอกสารและหนังสือพิมพ์ 2470 และ 2475 บัญญัติใหม่นี้กำหนดบทบัญญัติควบคุมหนังสื่อพิมพ์โดยกำหนดวุฒิการศึกษาของบรรณาธิการต้องสอบไล่ชั้นประโยคมัธยมบริบูรณ์หรือเทียบเท่า หรือเป็นผู้ซึ่งมีวิทยาฐานะอันมีคณะกรรมการซึ่งแต่งตั้งโดยรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยไม่ต่ำกว่า 3 นาย กฎหมายฉบับนี้ต้องการให้หนังสือพิมพ์มีมาตรฐาน แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นการควบคุมจำนวนหนังสือพิมพ์ไปด้วยในตัว การขึ้นสู่อำนาจทางการเมืองของจอมพล ป. พิบูลสงคราม (พ.ศ. 2481-2487) เป็นช่วงเริ่มเข้ามามีบทบาททางการเมือง มีการเนรเทศผู้ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาล มีการตราพระราชทานการพิมพ์ พุทธศักราช 2484 เพื่อควบคุมหนังสือพิมพ์ในภาวะฉุกเฉินหรือภาวะสงครามโดยเจ้าพนักงานการพิมพ์ คือ อธิบดีกรมตำรวจทำหน้าที่ตรวจข่าวโฆษณา สั่งถอนใบอนุญาตหนังสือพิมพ์ได้ ถ้าเห็นว่าขัดต่อความสงบเรียบร้อยแบะศีลธรรมอันดีของประชาชน และได้เงินทุนขึ้นต่ำของการดำเนินงานหนังสือพิมพ์ คือไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นบาท ทำให้หนังสือพิมพ์ยุบรวมกัน เมื่อจำนวนหนังสือพิมพ์ลดลงรัฐบาลก็สามารถควบคุมหนังสือพิมพ์ได้นอกจากนั้นในช่วงภาวะสงคราม หนังสือพิมพ์ต้องปัดส่วนกระดาษและมีการประกาศยกเลิกใช้บางตัว ทำให้หนังสือพิมพ์ถูกควบคุมทางอ้อมและกลายเป็นเพียงผู้บันทึกเหตุการณ์ในปี พ.ศ. 2501 ได้เกิดการรัฐประหารนำโดนจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และตลอดช่วงระยะภายได้ระบอบการปกครองเผด็จการทหาร ( พ.ศ. 2501-2516) ของจอมพล สฤษดิ์ จอมพล ถนอม กิตติขจร และจอมพล ประภาส จารุเสถียร มีการประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองซึ่งไม่มีบทบัญญัติใดๆรับรองสิทธิเสรีภาพในการพูด การเขียน และการแสดงความคิดเห็นรัฐบาลใช้ประกาศคณะปฏิบัติฉบับที่ 17 ในการควบคุมหนังสือพิมพ์อย่างเบ็ดเสร็จ โดยอ้างเพื่อความมั่นคงของประเทศ

     ยุคสิทธิเสรีภาพหนังสือพิมพ์เบ่งบาน และการปราบปรามครั้งใหญ่ การเดินขบวนครั้งใหญ่เพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญของขบวนการนิสิตนักศึกษาและประชาชนหรือที่เรียกว่า “การปฏิวัติ 14 ตุลา” โดยประชาชน ได้นำไปสู่การโค่นล้มรัฐบาลทหาร เป็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำคัญ เปิดฟ้าใหม่ให้แก่สิทธิเสรีภาพของหนังสือพิมพ์อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน มีหนังสือพิมพ์ เกิดใหม่เป็นจำนวนมาก และหนังสือพิมพ์มีจุดยืนทางการเมืองที่แตกต่างหลากหลายทั้งในฝ่ายเสรีนิยมและสังคมนิยม รวมแล้วมีการขอออกหนังสือพิมพ์ถึง 753 ฉบับ แต่มีเพียงร้อยละ 10 ที่ดำเนินการจริงในช่วงปี พ.ศ. 2517 มีคนหนุ่มสาวและกลุ่มปัญญาชนหัวก้าวหน้าเข้าสู้วงการหนังสือพิมพ์ แบละได้ออหนังสือพิมพ์แนวการเมือง เช่น ประชาชาติ ประชาธิปไตย และ The Voice of the Nation ส่วนนิสิตนักศึกษาได้ออกหนังสือพิมพ์ อธิปัตย์ เพื่อใช้เป็นเวทีในการแสดงบทบาททางการเมืองในอีกด้านหนึ่ง หนังสือพิมพ์ แนวอาชญากรรม เช่น ไทยรัฐ เดลินิวส์ ดาวสยาม ก็ใช้โอกาสที่เสรีภาพเปิดกว้างในการขุดคุ้ยเรื่องส่วนตัว ขายข่าวในเรื่องอาชญากรรม ความรุนแรงและเรื่องทางเพศอย่างโจ่งครึ่มในปี พ.ศ. 2518 ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นรายกรัฐมนตรีได้ประกาศพระราชบัญญัติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ พุทธศักราช 2518 ที่อนุญาตให้มีการยึดแท่นพิมพ์ได้ มาควบคุมหนังสือพิมพ์แม้ว่านักหนังสือพิมพ์จะเรียกร้องให้ยกเลิกพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 และพร้อมจะจัดตั้งสภาการหนังสือพิมพ์เพื่อควบคุมกันเองในทางวิชาชีพ อย่างไรก็ ดีบรรยากาศที่เสรีภาพเบ่งบานเต็มที่ในช่วงระยะ 3 ปี พ.ศ.2516-2519 ต้องสะดุดหยุดลง เมื่อฝ่ายอนุรักษนิยมร่วมมือกับทหารใช้กำลังปราบปรามนักศึกษาและประชาชนที่ประท้วงการกลับมาของจอมพบ ถนอม กิตติขจร หลังจากนั้น กลุ่มที่เรียกตัวเองว่าคณะปฏิรูปได้ก่อการรัฐประหารในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 และบริหารประเทศด้วยการหิดกั้นสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนมีการยกเลิกรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 และประกาศใช้ธรรมนูญการปกครอง พ.ศ. 2520 ซึ่งไม่มีบทบัญญัติใดๆที่รับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและของสื่อมวลชน มีการออกประกาศคณะปฏิรูปฉบับที่ 42 สั่งปิดหนังสือพิมพ์และมีการตรวจเซนเซอร์อย่างเข้มงวด หนังสือพิมพ์ที่ถูกกว้าวหาว่าเอียงซ้ายถูกยึดและมีรายชื่อหนังสือต้องห้าม 100 เล่ม ผู้ใดมีไว้ครอบครองจะถูกยึดและเผา มีคำสั่งเรียกผู้พิมพ์ผู้โฆษณาของหนังสือพิมพ์ทุกฉบับเข้าพบที่กอบบัญชาการทหารสูงสุด เพื่อให้ของอนุมัติตี พิมพ์หนังสือพิมพ์เป็นรายๆไป หนังสือพิมพ์ที่ได้รับอนุมัติ คือหนังสือพิมพ์ที่มีทัศนะเอียงขวาและกลางๆมีจำนวนทั้งสิ้น 12 ฉบับ ซึ่งไม่มีการวิจารณ์รัฐบาลคณะปฏิรูปอย่างสิ้นเชิงนิสิตนักศึกษาและปัญญาชนฝ่ายซ้ายหนีภัยคุกคามจากรัฐบาล เข้าป่าจับอาวุธต่อสู่ร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) และมีการเผยแพร่ความคิดทางการเมืองผ่านวิทยุเสียงประชาชนแห่งประเทศไทย และสื่อสิ่งพิมพ์ของพรรคคอมมิวนิสต์และพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทยการสู้รบด้วยกำลังอาวุธระหว่างทหารรัฐบาลและกอบทัพปลดแอกของพรรคคอมมิวนิสต์สิ้นสุดลงเมื่อรัฐบาลประกาศนโยบาย 66/2523 และ65/2524 เพื่อลดสภาพความขัดแย้งรุนแรง และการต่อสู้ทางความคิดและความเชื่อทางการเมืองที่ช้ำลังอาวุธและได้ประกาศนิรโทษกรรมแก่ผู้ที่กลับจากป่าค้นสู่สังคมเมือง

ที่มา
http://mhajoy.bloggang.com
รุ่งทิพย์ พรหมนิมิตกุล

0 Comments:

Post a Comment



Blogger Template by Blogcrowds